วัตถุประสงค์ของสินเชื่อฟื้นฟู
สินเชื่อฟื้นฟูคือมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้ที่ดำเนินธุรกิจที่ประสบปัญหาทางด้านเงินทุนหมุนเวียนหลังจากเกิดการระบาดของโควิด19โดยโครงการสินเชื่อฟื้นฟูมีวัตถุประสงค์คือเพื่อช่วยเหลือธุรกิจที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจแต่ประสบปัญหาทางด้านสภาพคล่องทางการเงินให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการเงินและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปี2024หรือ2567คาดว่าจะมีผู้ประกอบการหลายรายที่มาลงทะเบียนทางระบบออนไลน์เพื่อขอรับสิทธิ์ขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับธุรกิจที่ตนเองกำลังดำเนินกิจการอยู่ โดยโครงการสินเชื่อฟื้นฟูเจ้าของธุรกิจที่ประสบปัญหา
สามารถยื่นกู้จากสถาบันทางการเงินหรือธนาคารต่างๆได้หลายแห่ง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดวงเงินและงบประมาณทั้งหมดเพื่อเป็นสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจไว้ถึง 250,000ล้านบาท
โครงการสินเชื่อฟื้นฟูมีธนาคารไหนบ้าง
โครงการสินเชื่อฟื้นฟูมีธนาคารและสถาบันทางการเงินหลายแห่งได้เข้าร่วมมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มอัตราการจ้างงานให้มากขึ้นโดยมีสถาบันทางการเงินที่เข้าร่วมโครงการและให้มีการปล่อยให้กู้สินเชื่อฟื้นฟูแก่เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการต่างๆซึ่งได้แก่ สินเชื่อฟื้นฟูกสิกรของธนาคารกสิกรไทย สินเชื่อฟื้นฟูออมสินของธนาคารออมสิน สินเชื่อฟื้นฟู sme bankของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นกู้เงินสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจจากธนาคารต่างๆได้ตามความสะดวกสบาย
คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อฟื้นฟู
คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ขอสินเชื่อฟื้นฟูจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมีการจดทะเบียนและดำเนินธุรกิจในประเทศไทยโดยต้องไม่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านการเงินและไม่เป็นตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่ถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ สามารถยื่นกู้ได้ ซึ่งผู้กู้สินเชื่อผู้ประกอบการเพื่อฟื้นฟูธุรกิจหากเป็นลูกหนี้เดิมจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ NPL และมีวงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 500 ล้านบาทโดยลูกหนี้เดิมจะกู้เงินสินเชื่อในโครงการสินเชื่อฟื้นฟูได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของหนี้เดิมและไม่เกิน 150 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ใหม่จะต้องไม่เคยกู้เงินกับสถานบันการเงินอื่นๆมาก่อนและกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยการขอกู้สินเชื่อฟื้นฟูจะมีระยะเวลาในการกู้สิ้นเชื่อ 5 ปีโดยใน 2 ปีแรกผู้ประกอบการกู้สินเชื่อฟื้นฟูจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปีและในปีถัดไปทางธนาคารจะคิดอัตรดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมากโดยผู้ประกอบการที่สนใจและต้องการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากธนาคารสาขาใกล้บ้านท่านหรือจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสินเชื่อฟื้นฟูทางออนไลน์ก็ได้